ASIA AFRICA THAILAND ENGLAND BEACH PATTAYA JAPAN CHINA INDONESIA FRANCE TOKYO PARIS BANGKOK SINGAPORE INDIA UNITED STATES OF AMERICA CANADA LONDON MEXICO HAWAII LOS ANGELES PHILIPPINES AUSTRIA MANILA HANOI TAIWAN HONG KONG NEW ZEALAND AUSTRALIA SRI LANKA PHUKET WAT PRAKAEW EGYPT SAUDI ARABIA CAMBODIA BELGIUM BEIJING SYDNEY
Saturday, October 24, 2009
วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดประจำวังแห่งอาณาจักรกรุงศรี
พระอารามหลวง ถ้าเป็นยุคปัจจุบันนี้ เราต้องหมายถึง วัดพระแก้ว หรือ วัดพระศรีศาสดาราม ที่กรุงเทพมหานคร แต่หากจะย้อนเวลาไปยุคก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ พระอารามหลวง ต้องหมายถึง วัดพระศรีสรรเพชญ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา พูดภาษาง่ายๆก็คือ วัดพระศรีสรรเพชญ์แห่งนี้ เปรียบเสมือนเป็นวัดต้นแบบของการสร้างวัดประจำพระราชวัง(วัดพระแก้ว) ซึ่งวัดแห่งนี้มีความเป็นมาที่น่าสนใจอยู่มิใช่น้อย
วัดพระศรีสรรเพชญ์ เดิมในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ใช้เป็นที่ประทับ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ทางตอนเหนือ แล้วจึงโปรดฯให้ยกเป็นเขตพุทธาวาส เพื่อประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง จึงเป็นวัดในเขตพระราชวังที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา แตกต่างกับวัดมหาธาตุสุโขทัย ที่มีพระสงฆ์จำพรรษา ทั้งวัดมหาธาตุ สุโขทัย,วัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่างก็ถูกสถาปนาขึ้นในมูลเหตุการสร้างวัดเดียวกันนั่นคือ "สร้างเพื่อเป็นวัดประจำพระราชวัง"
ต่อมาในปี พ.ศ. 2035 รัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสถูปเจดีย์องค์ตะวันออก เพื่อบรรจุพระอัฐิของพระราชบิดา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2042 พระองค์ก็ทรงให้สร้างพระเจดีย์องค์ต่อมา ซึ่งเป็นพระเจดีย์องค์กลาง เพื่อบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 พระบรมเชษฐาธิราช
ในปีต่อมา พ.ศ. 2043 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างพระวิหาร ทรงหล่อพระพุทธรูป ยืนสูง 8 วา (ประมาณ 16 เมตร)หุ้มด้วยทองคำหนัก 286 ชั่ง (ประมาณ 171 กิโลกรัม) ประดิษฐานไว้ในวิหาร ถวายพระนามว่า พระศรีสรรเพชญดาญาณ ซึ่งภายหลังเมื่อเสียกรุง พ.ศ. 2310 พม่าได้เผาลอกทองคำไปหมด และองค์พระพังยับเยิน รัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาประดิษฐานวัดพระเชตุพน และ บรรจุชิ้นส่วนซึ่งบูรณะไม่ได้เหล่านั้นไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นแล้วพระราชทานชื่อเจดีย์ว่า เจดีย์สรรเพชญดาญาณ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ วิหารทิศ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment